คัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง

คัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง

สร้างแล้ว
6 มิถุนายน ค.ศ. 2020
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้สนับสนุน 2,473เป้าหมายต่อไป 2,500
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย Wensong Liao

ตามที่สํานักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะดําเนินการโครงการพัฒนาที่ดิน บริเวณหมอน 33 เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน ซึ่งในการดําเนินการโครงการดังกล่าวจะต้องรื้อถอนศาล เจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลืองเพื่อปรับพื้นที่เตรียมการก่อสร้าง

การรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลืองจะส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชนและชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วประเทศ เนื่องจากศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลเจ้าเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปรากฏหลักฐานสําคัญคือ  กระถางธูปพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในโอกาสพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อปีพ.ศ. 2454    อีกทั้งศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลืองแห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นหลักฐานแสดงความเจริญของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนย่านสะพานเหลือง ที่ได้พัฒนาจากเขตแออัดของคนยากคนจนมาเป็นเขตที่มีความเจริญ จนปรากฏหลักฐานเป็นศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่มีความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ แม้อาคารศาลเจ้าหลังปัจจุบันจุสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2513 แต่ก็มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม ความหมายครบถ้วนตามรูปแบบสถาปัตยกรรมแต้จิ๋ว ซึ่งไม่สามารถสร้างขึ้นทดแทนได้ การรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม  สะพานเหลืองจึงจะเป็นการทําลายหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์  และทําลายความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับพื้นที่ที่มีมาอย่างยาวนานกว่าร้อยปี ทั้งยังทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนความเป็นจีนในกรุงเทพลงอย่างน่าเสียดาย

แม้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดพื้นที่เตรียมไว้สําหรับสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ แต่พื้นที่ดังกล่าวมิใช่พื้นที่ดั้งเดิมที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานและผูกพันกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนย่านสะพานเหลืองดั้งเดิม  การย้ายไปยังพื้นที่ใหม่อาจส่งผลให้คุณค่าของศาลเจ้าลดทอนลง  และหากพิจารณาในด้านสถาปัตยกรรม แม้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีคณะทํางานเพื่อออกแบบศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่โดยศึกษารูปแบบจากศาลเดิม  แต่คณะทํางานล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทย ความรู้ดังกล่าวอาจไม่เพียงพอที่จะทราบและเข้าใจรายละเอียดศาลเจ้าดั้งเดิมได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง การออกแบบศาลเจ้าแห่งใหม่โดยคณะทํางานชุด ปัจจุบันจึงอาจขาดรายละเอียดสําคัญบางประการได้

ที่สำคัญคือในรายละเอียดของโครงการพัฒนาพื้นที่หมอน 33 ได้ระบุไว้ว่า “จึงสามารถเชื่อมโยงพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตชุมชน เขตพาณิชย์ และอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ จึงเป็นเสมือนการเชื่อมต่อในด้านประวัติศาสตร์อันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ที่ยาวนาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมสมัยใหม่” แต่การรื้อถอนศาลเจ้าเป็นการทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ “อันเปี่ยมด้วยเสน่ห์ที่ยาวนาน” กว่าร้อยปี ซึ่งขัดกับรายละเอียดโครงการ

จึงขอให้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนการรื้อถอนศาลเจ้าออกจากพื้นที่ โดยอาจจัดให้ศาลเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อจะได้รักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชุมชน รักษาสถาปัตยกรรมเก่าแก่ และให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้ประกาศต่อสาธารณชนไว้

 

 

 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 2,473เป้าหมายต่อไป 2,500
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย