บริการทำแท้งของรัฐ-เอกชน ช่วงโควิด ต้องต่อเนื่อง Ensure Safe Abortion during COVID

บริการทำแท้งของรัฐ-เอกชน ช่วงโควิด ต้องต่อเนื่อง Ensure Safe Abortion during COVID

สร้างแล้ว
28 เมษายน ค.ศ. 2020
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร (อธิบดีกรมอนามัย)
ผู้สนับสนุน 5,014เป้าหมายต่อไป 7,500
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

จดหมายเปิดผนึกเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

Petition to the Department of Health to ensure that women can access safe abortion services during the COVID-19 pandemic

(English please scroll down) 

เสนอโดย เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และองค์กรภาคีรวม.......องค์กร

วันที่  15 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

 

เรียน     อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เรื่อง      มาตรการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

            ตามที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยทางการแพทย์ ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับแพทยสภา เพื่อให้วัยรุ่นและผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้มีเข้าถึงบริการที่ปลอดภัย และลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย โดยได้สนับสนุนให้มีเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) มาตั้งแต่พ.ศ. 2558 เพื่ออาสารับส่งต่อบริการยุติการตั้งครรภ์จากหน่วยบริการสุขภาพ และสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 รวมทั้งหน่วยงานให้การปรึกษาอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังได้ให้การสนับสนุนค่าบริการเพื่อป้องกันการทำแท้งไม่ปลอดภัยให้แก่หน่วยบริการสุขภาพที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการใช้เครื่องดูดสุญญากาศ และวิธีการใช้ยาด้วยเช่นกัน หากด้วยปัญหาด้านทัศนคติต่อการทำแท้ง และความพร้อมของสถานพยาบาล จึงยังไม่สามารถจัดให้มีบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยครอบคลุมทุกจังหวัดในประเทศไทยได้ ปัจจุบันจึงเป็นการให้บริการแบบส่งต่อไปยังสถานบริการที่ยอมรับและเปิดให้บริการ

บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ นับเป็นบริการที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ใด ๆ รัฐจำเป็นต้องยังคงให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ แต่วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มภาระงานและความเสี่ยงของสถานบริการ โดยสถานบริการต่างๆ ชะลอการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้แก่ การคุมกำเนิดกึ่งถาวร และบริการยุติการตั้งครรภ์ ส่งผลให้สถานบริการสุขภาพในเครือข่ายอาสา RSA ลดลง จากเดิมที่มีอยู่ 142 แห่ง ใน 42 จังหวัด คงเหลืออยู่เพียง 71 แห่งใน 39 จังหวัด ในจำนวนนี้ มีเพียง 40 แห่งที่รับส่งต่อให้บริการจากจังหวัดอื่น หรือจังหวัดในเขตบริการสุขภาพเดียวกัน นอกจากนี้ใน 40 แห่งนี้มีหน่วยบริการเพียง 4 แห่งทั่วประเทศไทยที่รับอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

ด้วยจำนวนสถานบริการยุติการตั้งครรภ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งยังต้องปิดให้บริการลงเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 นี้ การเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมีจำนวนมากขึ้นและประสบปัญหาเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย จำนวนมากหันไปใช้ช่องทางอื่นที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อยาออนไลน์มาใช้เอง ซึ่งส่วนหนึ่งก็ไม่ได้รับยา เนื่องจากแหล่งยาออนไลน์ไม่สามารถนำยาเข้ามาได้เพราะมาตรการปิดประเทศ บางส่วนตัดสินใจไปทำแท้งในสถานบริการที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลให้ได้รับอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งบางรายอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต นับเป็นการสูญเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่งในประเทศที่มีบริการสาธารณสุขที่ดี และมีบริการการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย

ข้อมูลจากสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม และกลุ่มทำทาง พบว่านับตั้งแต่มีการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนมีนาคมจนถึงปัจจุบัน ผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์มีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และในขณะที่ผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในการเข้ารับบริการยุติการตั้งครรภ์ในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้หญิงยิ่งต้องพบกับความยากลำบากในการเข้ารับบริการมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุดังต่อไปนี้

1.  สถานบริการสุขภาพจำนวนหนึ่งหยุดให้บริการยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากมีภารกิจการค้นหาดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19

2.  การส่งต่อไปรับบริการยังสถานบริการอื่นทำได้ยากเนื่องจากมาตรการปิดเมือง ทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อไปรับบริการได้  

3. โรงพยาบาลที่ให้บริการมีการปรับลดจำนวนผู้รับบริการและมีความเข้มงวดในการรับส่งต่อจากพื้นที่เสี่ยงโรคติดเชื้อโควิด-19

ขณะเดียวกันมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ยังอาจนำมาซึ่งสถานการณ์ตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการใช้เวลาอยู่ในบ้านร่วมกันเพิ่มโอกาสในการมีเพศสัมพันธ์กับคู่มากขึ้น ขณะที่ประชาชนกลับเข้าไม่ถึงอุปกรณ์คุมกำเนิด หรือใช้วิธีการคุมกำเนิดที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ การต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถูกสั่งห้ามดำเนินกิจการ ถูกลดเวลาทำงาน ถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขาดรายได้ ทำให้ความรุนแรงในครอบครัวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลจากการปรึกษาท้องไม่พร้อมของสายปรึกษาท้องไม่พร้อม 1663 พบว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้จะเลือกยุติการตั้งครรภ์มากขึ้นอันเนื่องมาจากความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและสังคม

การเข้าไม่ถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19  ส่งผลให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งที่ไม่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจากประสบการณ์ตรงของผู้ให้การปรึกษา  ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินมาตรการใด ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะมีความเป็นไปได้สูงมากที่ในเวลาอีกไม่นานประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาการเพิ่มจำนวนของผู้หญิงที่บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการทำแท้ง รวมทั้งการเพิ่มจำนวนประชากรที่ด้อยคุณภาพอันเนื่องมาจากครอบครัวไม่พร้อมเลี้ยงดู และมีเด็กที่ถูกทอดทิ้งมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า ยายุติการตั้งครรภ์ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ อาจเกิดการขาดแคลนได้ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากโรงงานที่ผลิตยานี้ในประเทศอินเดียที่เป็นแหล่งเดียวที่ประเทศไทยนำเข้า จะหยุดการผลิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยไม่มีความชัดเจนว่าจะเริ่มผลิตอีกครั้งเมื่อไร   

เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ที่ประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ วิชาการและภาคประชาสังคม ขอเรียกร้องให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาออกมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้หญิงเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่จำเป็น โดยเฉพาะเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ได้ในอายุครรภ์ที่มีความปลอดภัย และเพื่อให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการลดความเสี่ยงจากการแพร่และรับโรคติดเชื้อโควิด-19  ดังต่อไปนี้

1.    ประสานกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องการเดินทางออกนอกเคหะสถาน และการเดินทางข้ามจังหวัดตามพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้มีความเข้าใจถึงความจำเป็นในการเดินทางของผู้หญิง และอนุญาตให้ผู้หญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปรับบริการที่สถานบริการนอกพื้นที่ได้ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

2.    ออกมาตรการที่ชัดเจนในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมด้วยการจัดหาและเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ในการคุมกำเนิดชั่วคราว และการให้บริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรตามความพร้อมของสถานบริการโดยเฉพาะหลังยุติการตั้งครรภ์ ที่เข้าถึงได้ เพียงพอและกระจายอย่างมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง

·    แสวงหามาตรการในการบริหารจัดการหรือประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันมิให้ยายุติการตั้งครรภ์เกิดการขาดแคลนในอนาคตอันใกล้

3.        พิจารณาออกมาตรการและดำเนินมาตรการบริการสุขภาพในระบบ Tele-medicine ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีการดูแลรักษาทางไกลที่ช่วยให้ผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงต่อการติดต่อโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยการปรึกษาออนไลน์ ก่อนและภายหลังการใช้ยาในผู้หญิงที่ต้องการจะยุติการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ที่มีผลตรวจอัลตร้าซาวด์ยืนยัน

·    แจ้งสถานบริการสุขภาพภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในทุกแห่งให้เปิดให้บริการอัลตร้าซาวด์เพื่อทราบอายุครรภ์ให้ผู้หญิงเข้าถึงได้โดยไม่จำเป็นต้องฝากครรภ์

4.    พิจารณาออกประกาศเผยแพร่ข้อมูลนโยบายการให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยที่ชัดเจน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้ประชาชนทั่วไป รวมทั้งสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบ เพื่อดำเนินการไปในแนวทางเดียวกันในการสนับสนุนให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงบริการทำแท้งได้อย่างปลอดภัย

·       ดำเนินการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลระดับประเทศเกี่ยวกับอุปสรรคปัญหาในการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด19

·    ให้สถานบริการเตรียมพร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้หญิงที่มีอาการแทรกซ้อนจากการทำแท้งหรือได้รับผลกระทบจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งคาดว่าจะเป็นผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

5.        พัฒนานโยบาย และยุทธศาสตร์ในระยะยาว เพื่อสนับสนุนให้บริการทำแท้งที่ปลอดภัยเป็นบริการสุขภาพที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งควรเปิดให้บริการยุติการตั้งครรภ์ หรืออย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง

 

ทางเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม องค์กรภาคีเครือข่าย ตลอดจนภาคประชาชนที่สนับสนุนอนามัยการเจริญพันธุ์และบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นบริการสุขภาพที่จำเป็นสำหรับประชาชนทุกคนในสังคมไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19  โดยพิจารณาออกมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยโดยไม่จำเป็น อันจะส่งผลต่อการลดโอกาสเกิดปัญหาทางสังคมจากการท้องไม่พร้อมเพื่อเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพ อีกทั้งเป็นการช่วยสนับสนุน และให้กำลังใจกับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เห็นความสำคัญต่อประเด็นนี้และยังคงเปิดให้บริการท่ามกลางวิกฤตการณ์นี้ด้วย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

 

ขอแสดงความนับถือ                                                             

 

(รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล) ผู้ประสานงาน

เครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม

และภาคีที่ร่วมลงนามต่อไปนี้...

 

 

 

Petition to the Department of Health to ensure that women can access safe abortion services during the COVID-19 pandemic

 

Proposed by CHOICES Network Thailand and…...( number) Civil Society Organizations

 

15 May 2020

 

Attn: Director General of Department of Health, Ministry of Public Health

 

Subject: Issuing measures to ensure that women can access safe abortion services during the COVID-19 pandemic

 

In Thailand medical abortion services are available under the law and regulations of the Medical Council of Thailand. The Department of Health has supported the operation of the volunteer network of Referral System for Safe Abortion (RSA) since 2015, and the National Health Security Office of Thailand (NHSO) has given an allowance to registered hospitals to support and provide surgical and medical abortion services. The hospitals receive 3000 BTH (approximately 100 USD) for each woman who needs abortion services. 

 

However, due to abortion stigma and resistance from some health care providers, safe abortion services have not yet been provided in every provincial governmental hospital across Thailand. So, often, women seeking safe abortion need to be referred to other provinces, meaning an increased cost and unnecessary time delay for her to access the service.

 

Reproductive health services are time sensitive and an essential part of health care. The current COVID-19 pandemic has impacted service providers drastically as it has increased their work loads and put them at risk. As a result, provision of reproductive health services such as long-acting reversible contraception and safe abortion services are delayed. The number of RSA service providers has declined from 142 units in 42 provinces to 71 units in 39 provinces. Among those active ones, only 40 providers accept referrals from other provinces or the same health service district. With regret, there are only 4 service providers in the country performing abortion procedures after 12 weeks of pregnancy.

 

In the situation where the number of service providers is limited and some clinics are closed because of the outbreak of COVID-19, it is more difficult for women to access contraception and safe abortion services.  Many of them turn to clandestine abortion, buying online medicine from unreliable drug sellers and many of them do not receive the medicines at all because of the lockdown effect.

 

According to hotline counselling carried out by 1663 and Tamtang Group, the number of women seeking abortion became significantly higher after the Royal Act on Public Administration in Emergency Situations was enacted in March, compared to the period before the spread of COVID-19. While women already face many barriers to accessing safe abortion in normal situations, the spread of COVID-19 makes accessing abortion services even more difficult because:

Some governmental hospitals have stopped providing these services because of the duty to care for COVID-19 patients;
The lockdown restricts women’s ability to travel to other provinces when they have been referred to health centres far from the area in which they live.
Some hospitals have limited the number of cases or opening times, and become more strict about referrals from areas affected by COVID-19.
 

In addition, the government’s ‘stay home’ policy might lead to a higher rate of unplanned pregnancy because people tend to have more sex with partners but also cannot access   the most effective forms of contraception. Higher rates of domestic violence during this time are already being reported globally and the impact of the economic crisis on income may also affect the need for abortions – 1663 and Tamtang Group has found that more women are deciding to terminate their pregnancy because of such socio-economic factors.

 

Limited access to safe abortion services during the spread of COVID-19 may drive more  women to risk unsafe abortion. If there are no preventive measures or solutions, the number of women with post-abortion severe complications and death may increase. Moreover, there will be more people experiencing a low quality of life as they are forced to cope with additional children they are not ready to care for.

 

Besides, in the nearest future Thailand will face shortage of abortion medicine which is listed in the National List of Essential Medicine because the  indian pharmaceutical company, which Thailand’s MOPH order the medicine will cease abortion medicine producing  in July 2020 without any clarity about when its production will be resumed.

 

CHOICES Network which is consisted of governmental agencies, academic bodies and civil society, therefore, calls for the attention of the Department of Health, Ministry of Public Health, to consider the launch of  immediate measures to solve the aforementioned problems. This is to help women have better access to essential abortion services, especially access to abortion in early pregnancy. This will lower the service providers and service recipients’ risks of spreading COVID-19 or being exposed to the virus, as follows;

 

Coordinate with the Ministry of Interior and other concerned authorities that are in charge of controlling the lockdown to make them understand that women need to travel for this essential healthcare service, and allow women who seek abortion to travel outside their province to do so
Initiate measures to prevent unintended pregnancy by providing both short-acting and long-acting reversible contraceptives as per service providers’ availability, particularly making post-abortion contraception accessible, adequate and widely available.;
Seek strategies to manage or coordinate with concerned agencies immediately to ensure there is no shortage of abortion medicine in the near future.;
Consider integrating tele-medicine for abortion into the health service system as one of the technological measures that will help prevent medical personnel and service recipients from being infected with COVID-19. Counselling can be provided online before and after the use of abortion pills by women with pregnancies under 12 weeks. Tele-medicine has proved to be the effective way of providing safe abortion services  [1] England is one of the country which employ this strategy for their population safety now.
Inform all health providers under MOPH to provide ultrasound examination without being forced to compulsory antenatal care register.
Raising awareness to the public and all service providers under MOPH about provision of safe abortion services, in order to align their action to support women to access safe abortion services.;
proceed to collect and analyse national data related to barriers to accessing safe abortion during COVID-19.;
ensure that the governmental hospitals are ready to provide treatment and care to women with post-abortion complications or any health impacts from clandestine abortion which cannot be avoided during COVID-19.;
Developing policies and long-term strategies to increase the number of governmental hospitals providing safe abortion services to at least one hospital in each province.
 

We (CHOICES Network, partner organizations and civil society), hope that the Department of Health will strongly consider the significance of women’s sexual and reproductive health during the COVID-19 crisis, and thus initiate immediate measures to reduce the barriers to safe abortion services. This is to reduce post-abortion complications and death rate caused by unnecessary unsafe abortion and show your strong support to health care provider who provide safe abortion services to women despite the pandemic.

 

Kindly consider.

 

Respectfully yours,

 

Associate Professor Krittaya Archavanichkul

CHOICES Network Coordinator



[1] https://journals.lww.com/greenjournal/Abstract/2019/08000/Medication_Abortion_Provided_Through_Telemedicine.19.aspx

 

 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 5,014เป้าหมายต่อไป 7,500
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากรอธิบดีกรมอนามัย