สนับสนุนมติให้ยกเลิกการใช้สารฆ่าหญ้าพาราควอต สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต

สนับสนุนมติให้ยกเลิกการใช้สารฆ่าหญ้าพาราควอต สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต

สร้างแล้ว
18 กันยายน ค.ศ. 2017
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
ประยุทธ์ จันโอชา (นายกรัฐมนตรี) และ ผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่นอีก 1 คน
ผู้สนับสนุน 54,998เป้าหมายต่อไป 75,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง

****อัพเดท ตุลาคม 2562 - ก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลง! ขอบคุณคนไทย ร่วมแบน 3 สารเคมี

ตั้งแต่ปี 2559 มีผู้เสียชีวิตจากสารกำจัดศัตรูพืช 2,193 ราย ล่าสุด เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อถังฉีดสารรั่วใส่ร่างกาย ทำให้เกษตรกรเสียชีวิตภายใน 7 วัน ทีมแพทย์พยายามรักษาทุกหนทางจนแผลภายนอกเกือบจะหายสนิท แต่พาราควอตถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำลายอวัยวะภายในจนหมด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา นี่ยังไม่นับว่าสารพิษชนิดนี้ ส่งผลต่อคนผู้บริโภคโดยตรง จากการสุ่มเก็บผักและผลไม้จากห้างสรรพสินค้า ที่พบว่ามีพาราควอตเกินค่ามาตรฐาน 50% และพบสารนี้ตกค้างในร่างกาย เจอในขี้เทาทารก 54.7% และในซีรั่มของมารดา & ทารกแรกคลอด 17-20% นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่พบว่า พาราควอตส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทและเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคพาร์กินสัน 

เราจะยังปล่อยให้มีการใช้สารพิษเหล่านี้อยู่ได้อย่างไร? ทั้งๆ ที่ 54 ประเทศทั่วโลกประกาศเลิกใช้แล้ว รวมทั้งประเทศที่เป็นผู้พัฒนาสารพิษนี้ (อังกฤษ) ประเทศผู้ผลิต (สวิสเซอร์แลนด์) และประเทศเจ้าของตลาดรายใหญ่ (จีน) รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย

ตลอดระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงได้รวมตัวจาก 369 องค์กร จนตอนนี้มีแนวร่วมทั้งหมด 686 องค์กร เราได้ช่วยกันผลักดันประเด็นนี้ รวมทั้งการรณรงค์ระดมรายชื่อเสียงสนับสนุนจากประชาชนผ่านแคมเปญนี้ Change.org/paraquat มีการเคลื่อนไหวหลายครั้ง ถึงนายกรัฐมนตรี รมต.กระทรวงเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม แม้กระทั่งได้คำสัญญาจากหลายพรรคการเมืองช่วงก่อนการเลือกตั้ง และกับอีกหลากหลายภาคส่วน จนคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจการแผ่นดิน สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาเภสัชกรรม แพทยสภา รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกมาลงความเห็นว่าไทยควรแบนการใช้สารเคมีเหล่านี้ได้แล้ว

แต่ความจริงก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการชี้ขาดว่าจะแบนหรือไม่แบนขึ้นอยู่กับคณะกรรมการวัตถุอันตราย (ซึ่งมีตัวแทนของสมาคมผู้ค้าสารพิษเหล่านี้นั่งอยู่อย่างน้อย 2 คน?!) จากการติดตามการทำงานของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ (แต่งตั้งโดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย) พบว่าคณะอนุฯ ชุดนี้ มีบางท่านที่มีประวัติการทำงานใกล้ชิดกับบริษัทสารเคมี เลือกพิจารณาข้อมูลเก่า และมีการเคลื่อนไหวกดดันจากองค์กรบังหน้าอย่างเป็นระบบของบริษัทสารพิษเพื่อต่อต้านไม่ให้มีการยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษ แลกกับผลประโยชน์ กำไรมหาศาล ทำให้การลงมติหลายครั้งเข้าข้างผู้ค้าสารพิษ ไม่แบนการใช้ และประวิงเวลาเรื่อยมา โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของประชาชน 

ถึงวันนี้ก็ตาม เรายังไม่หมดหวัง เพราะมีสัญญาณพร้อมร่วมรบจาก รมต. กระทรวงสาธารณสุข รมช.เกษตรฯ และคณะกรรมมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีฯ แต่ตอนนี้ที่ยังขาดคือเสียงสนับสนุนจากประชาชนที่ต้องร่วมกันทำให้ดังขึ้นไปอีก เพื่อให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายรู้ว่าไม่มีผลประโยชน์ใดที่จะเหนือไปกว่าผลประโยชน์ของประชาชน อยากขอเชิญทุกท่านร่วมลงชื่อและแชร์แคมเปญให้ถึง 1 แสนชื่อ 

การเปลี่ยนแปลงต้องลงแรง ไม่ต้องรอผู้มีอำนาจดลบันดาล!

อ่านต่อทำไมต้องแบนพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส
ติดตามความเคลื่อนไหว เพจเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 54,998เป้าหมายต่อไป 75,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • ประยุทธ์ จันโอชานายกรัฐมนตรี
  • คณะกรรมการวัตถุอันตราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม