ขอให้คณะ​ครุศาสตร์​ จุฬา​ฯ ตรวจสอบพฤติกรรม​เหยียดเพศในชั้นเรียนของ อ.นิรันดร์​ แสงสวัสดิ์​

ขอให้คณะ​ครุศาสตร์​ จุฬา​ฯ ตรวจสอบพฤติกรรม​เหยียดเพศในชั้นเรียนของ อ.นิรันดร์​ แสงสวัสดิ์​

สร้างแล้ว
20 มกราคม ค.ศ. 2019
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​, และ
ผู้สนับสนุน 42,492เป้าหมายต่อไป 50,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย Netiwit Chotiphatphaisal

เรื่อง    ขอให้คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรม ผศ.ดร.นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ (อ.พิเศษ ของรายวิชาจิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาสำหรับครูฯ) กำชับไม่ให้สอนความคิดเหยียดเพศ และเปิดโอกาสให้นิสิตในชั้นเรียนโต้แย้งและถกเถียงอย่างเป็นวิชาการ เสรี และไม่มีผลต่อผลการศึกษา

เนื่องด้วยล่าสุด มีบทความออนไลน์หัวข้อ “ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่นิสิตคณะครุศาสตร์จะ “ไม่นิ่งเฉย” ต่อทัศนคติเหยียดเพศของอาจารย์วิชาจิตวิทยาฯ” (อ่านบทความดังกล่าวได้ที่ http://nisitreview.com/309?fbclid=IwAR24t8OatiGZSPP6uV3-vMimYteRcLms4m75eC9NACfLVHjD1m6xX1KQtw0 และมีอัลบั้มข้อความออนไลน์หัวข้อ “35 ปีที่ผ่านมานี้ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ สอน “จิตวิทยาความเป็นครูฯ” อย่างไรกัน..?” (ดูที่ https://www.facebook.com/645916519119571/posts/772964766414745/)​โดยกล่าวถึงคำพูดหน้าชั้นเรียนและทัศนคติของ ผศ.ดร.นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ (อ.พิเศษ ผู้สอนรายวิชาบังคับของคณะครุศาสตร์) ซึ่งเป็นทัศนคติเหยียดเพศทั้งหญิงข้ามเพศ เช่น “ครุศาสตร์ที่ให้พวกกะเทยมาเรียนก็บุญแล้ว” “พวกตุ๊ดไม่สมควรได้เรียนหนังสือ ไปแก้ไขตัวเองให้ได้ก่อน” “กะเทยเป็นพวกวิปริตผิดเพศ ไม่สมควรจะเป็นครู” หรือเหยียดชายข้ามเพศ เช่น “ผมรับได้กับทอมที่อยากแมนแบบผู้ชาย แต่รับไม่ได้กับพวกกะเทยที่เป็นผู้ชายอยู่แล้วแท้ ๆ กลับไปตุ้งติ้งเป็นหญิง” “ทอมเนี่ย ถ้าโดนผู้ชายขืนใจสักครั้งสองครั้ง รับรองติดใจ เปลี่ยนพฤติกรรม กลับเป็นหญิงแน่นอน” หรือเหยียดคุณค่าของผู้หญิง เช่น “ผู้หญิงที่จะเล่นซอสามสาย ต้องเป็นคนสวยตามฐานะของเครื่องดนตรี” เป็นต้น

นอกจากนั้น บทความนี้ยังกล่าวถึงการใช้อำนาจความเป็นครูที่ไม่เหมาะสม ทั้งการใช้ทัศนคติเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศของตนเองพิจารณาตัดสินความผิดในฐานะกรรมการที่ควรจะมีความเป็นธรรม เขาเคยกล่าวว่า “มีนิสิตชายคนหนึ่งถูกฟ้องว่าทำร้ายร่างกายตุ๊ดซึ่งไม่รู้จักกันมาก่อน ...ก็คือผู้ชายอ่ะเนอะ เดิน ๆ ไปเหลือบเห็นอะไรขวางลูกหูลูกตา เห็นอะไรผิดปกติ มันก็ต้องทนไม่ได้ ต้องเข้าไปเตะต่อยสักยกสองยก ให้เรียนรู้ว่ามันไม่สมควรมีชีวิตอยู่แบบนั้นต่อหน้าผู้ชายอย่างเรา ...ผมเป็นกรรมการ ผมก็พยายามพลิกระเบียบหาช่องทางให้ชายคนนั้นถูกตัดคะแนนน้อยที่สุด เพราะถ้าเป็นผม ผมคงลงไม้ลงมือจัดการกับตุ๊ดพวกนี้ให้หนักกว่านั้นอีกหลายเท่า” และการประเมินผลนิสิตตามอำเภอใจ ไม่ใช้เกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดไว้ในประมวลรายวิขา (Course Syllabus) โดยเขาเคยกล่าวว่า “อย่าให้เจอนิสิตที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ ในห้องนี้ ผมเคยเจอก็หลายคน ผมให้ F พวกนี้ทุกคนโดยไม่ต้องตรวจข้อสอบไฟนอล หรือสนใจคะแนนที่พวกนั้นสะสมมา” เป็นต้น

ผศ.ดร.นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ เป็นผู้สอนคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ นานมากกว่า ๓๕ ปี เขาสอนทัศนคติเหยียดเพศโดยไม่เคยเปิดโอกาสให้นิสิตในชั้นเรียนได้โต้แย้งหรือตั้งคำถาม เขาไม่เคยรับฟังคำร้องหรือเหตุผลของนิสิตที่มีความคิดแตกต่างทั้งเรื่องเพศและเรื่องอื่น ๆ เช่น เขายืนยันว่า “วาฬเป็นปลา” เพราะคนไทยเรียกว่าปลาวาฬ เราเป็นคนไทย ไม่ควรรับแนวคิดฝรั่ง เป็นต้น เขาใช้ทัศนคติเหยียดเพศของตนเองประกอบการยื่นคำร้องให้คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ทบทวนมติการอนุญาตให้นิสิตหลากหลายทางเพศแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศของตนได้ ซึ่งมีผลให้คณะกรรมการบริหารฯ คณะครุศาสตร์มีมติยกเลิกสิทธิดังกล่าวของนิสิต (อ่านเรื่องราวของมติดังกล่าวต่อได้ที่ ) (ปัจจุบัน หลังจากการเรียกร้องตามลิงก์ดังกล่าว จุฬาฯ ก็มีคำสั่งทุเลามติการยกเลิกสิทธินั้นชั่วคราวแล้ว) นอกจากนั้น เขายังใช้อำนาจความเป็นครูอย่างไม่เหมาะสมทั้งในอดีตและปัจจุบันด้วยความภาคภูมิใจ

ในนามของกลุ่มนิสิตคณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์​ คณะรัฐศาสตร์ และเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเคารพให้เกียรติกันในสังคมไทย การเรียนรู้เพื่อยอมรับความแตกต่างหลากหลายของคนในสังคม และการใช้อำนาจของครูในชั้นเรียนอย่างเหมาะสม จึงขอเรียกร้องให้คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรม ผศ.ดร.นิรันดร์ แสงสวัสดิ์ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม กำชับอาจารย์ไม่ให้สอนความคิดเหยียดเพศและต้องเปิดโอกาสให้นิสิตในชั้นเรียนได้โต้แย้งและถกเถียงอย่างเป็นวิชาการ เสรี และไม่มีผลต่อผลการศึกษาของนิสิต ทั้งนี้เพื่อยับยั้งไม่ให้ความคิดเหยียดเพศเหล่านี้ถูกส่งต่อจากอาจารย์ในชั้นเรียนไปสู่นิสิตครูและอาจส่งต่อไปยังนักเรียนในโรงเรียนต่อไป

ขอแสดงความนับถือ​

กลุ่มนิสิตคณะครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์​ คณะรัฐศาสตร์ และเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจการเคารพให้เกียรติกันในสังคมไทย

 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 42,492เป้าหมายต่อไป 50,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • อธิการบดีจุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​,
  • คณบดีคณะครุศาสตร์​ จุฬา​ฯ​,
  • คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่งชาติ