หยุดรวมการจ่ายยา PrEP,PEP เพื่อป้องกันHIV ไว้ที่รัฐ อนุทินต้องกระจายจุดจ่ายยาให้ประชาสังคม

หยุดรวมการจ่ายยา PrEP,PEP เพื่อป้องกันHIV ไว้ที่รัฐ อนุทินต้องกระจายจุดจ่ายยาให้ประชาสังคม

สร้างแล้ว
6 มกราคม ค.ศ. 2023
ผู้สนับสนุน 15,096เป้าหมายต่อไป 25,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย TestBKK APCOM

testBKK(ดำเนินการโดย APCOM) ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย(RSAT), มูลนิธิเพื่อพนักงานบริการ (SWING), มูลนิธิเอ็มพลัส(MPLUS), มูลนิธิแคร์แมท, สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) และองค์กรภาคประชาสังคมทั่วประเทศไทย

testBKK เป็นการรณรงค์ออนไลน์ด้วยเรื่องสุขภาวะทางเพศ และความตระหนักรู้ปัญหาของ HIV ในประเทศไทย และสนับสนุนให้ผู้คนเข้าถึงการความรู้ การป้องกัน การรักษา ที่ง่ายและเป็นมิตรต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ผู้ใช้สาร พนักงานบริการ และเยาวชน

สืบเนื่องจากประกาศของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข ไม่อนุญาตให้หน่วยบริการที่ใช่ใช่สถานพยาบาลจ่ายยา เพร็พ PrEP (ยาเพื่อป้องกันHIVก่อนสัมผัสเชื้อ) และเป็บ PEP(ยาสำหรับหลังสัมผัสเชื้อใน 72 ชม.) โดยให้ผู้ใช้บริการต้องไปรับบริการจากสถานบริการของรัฐตามสิทธิ์ที่ตนมี 

เราต้องการเรียกร้องให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณะสุข คงระบบเดิมในการให้คลินิกและองค์กรภาคประชาสังคมทำการแจกจ่าย PrEP และ PEP รวมถึงอุดหนุนงบประมาณเพื่อสร้างการเข้าถึงบริการต่างๆ ให้เข้าถึงง่ายแก่ประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อ HIV และเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

ความกังวลใจของภาคประชาชนต่อปัญหานี้ จากสังคมออนไลน์ได้ตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับการให้บริการของรัฐต่อการป้องกัน HIV และเอดส์ อย่างมากโดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

  1. การให้บริการ พบว่าการให้การบริการของรัฐใช้เวลาที่นานกว่า ในการรอคิว และขั้นตอนในการเข้ารับบริการก็มีหลายขั้นตอน ในการเข้าใจบริการ อาจจะใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง หรืออาจจะเป็นครึ่งวัน ทำให้เสียเวลาในการทำงาน หรือลางานเพื่อไปรับยา ต่างจากคลินิกภาคประชาสังคมที่สามารถจองบริการล่วงหน้า และเข้ารับบริการได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
  2. การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ผู้คนก็ยังคงกังวลใจเมื่อเข้าไปรับบริการ จะเจอการบริการ ที่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้รับยาว่าเป็นกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ  ซึ่งในความเป็นจริง ผู้ที่รับยา PrEP หรือ PEP ก็ไม่ได้จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ หรือมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เพียงรับยาเพื่อป้องกันโอกาสในการรับเชื้อ HIV เท่านั้น
  3. ข้อมูลส่วนตัว ในการเข้ารับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐ อาจมีการต้องใช้บัตรประชาชนและข้อมูลส่วนตัวในการรับบริการ ซึ่งผู้ใช้บริการ ก็กังวลในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของรัฐ ด้วยเช่นกัน

ด้วยข้อกังวลใจและปัญหาเบื้องต้น เราจึงเรียกร้อง ให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาและทบทวน การกระจายบริการในการจ่ายยา PrEP และ PEP ให้คงรูปแบบเดิมที่ภาคประชาสังคมยังสามารถดำเนินการได้ พร้อมส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมได้เพิ่มหน่วยบริการขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ในต่างจังหวัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ และลดอัตราการส่งต่อเชื้อจนบรรลุเป้าหมายในการยุติเอดส์ได้ในปี 2030 

อ้างอิงจาก
1. มติบอร์ด สปสช.ให้ชะลองบสร้างเสริมสุขภาพฯ เฉพาะผู้ที่ไม่ใช่สิทธิบัตรทอง

"ประกาศกองทุนฯ สปสช. ปี 2566 ตามที่ท่าน รมต.สธ.ลมนาม ส่งผลให้งานด้านการป้องกันเอชไอวีของประเทศ จำกัดการให้บริการเฉพาะผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทองและ ส่งผลกระทบต่อนโยบายที่เกี่ยวกับงานด้านการป้องกันทั้งหมดของประเทศ"

2. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องหลักการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีนโยบาลและกฏหมายที่ไม่เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณะสุขอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

3. หนังสือชี้แจงแนวทางแนวทางการจัดบริการ PrEP ของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้องค์กรชุมชนไม่สามารถให้บริการด้านการป้องกัน PrEP PEP แก่ผู้รับบริการได้ เนื่องจากขัดกับ พรบ.สถานพยาบาล

Thailand backtracks on its HIV commitment after hosting 51st UNAIDS Programme Coordinating Board meeting

 

According to the announcement of the Minister of Public Health of Thailand, PrEP (pre-exposure prophylaxis) and PEP (post-exposure prophylaxis) are not permitted to be distributed by community-based organisations (CBOs) as it falls outside the government’s system. Community organizations are thus unable to deliver PrEP, PEP services to their clients.

This news came after Thailand hosting the UNAIDS board meeting in Chiang Mai in December last year where key population-led health service (KPLHS) were being profiled as great examples of collaboration between the community and the government to ensure universal health coverage, and the commitment from the Thai government to support and sustain KPLHS as they reach and serve those that are marginalized and vulnerable.

In light of this news, APCOM in collaboration with Rainbow Sky Association of Thailand (RSAT), Service Worker in Group Foundation (SWING), MPLUS Foundation (MPLUS), Caremat Foundation, Institute for HIV Research and Innovation (IHRI), and other civil society organizations in Thailand would like to approach the Minister of Health to maintain the same mechanism for clinics and civil society organizations to deliver PrEP and PEP, and subsidize funding to increase capacity and to facilitate easy and stigma-free access to lower the risk of HIV and AIDS as well as other STIs.

See the letter to the Thai Prime Minister 


APCOM’s testBKK campaign started a change.org petition which has close to 4,000 supporters, and gained prominence on social media, with the wider community being concerned and countless questions have been posed by online communities about government services for HIV and AIDS prevention, summarized as follows:

1. Accessibility of Government services. Comments were made that government services require longer waiting times in queues and more processes to access the service. It could take between an hour or a half-day, which wastes the client’s time to take PrEP, or PEP, unlike civil society clinics where services can be reserved in advance and accessed simply and quickly.
2. Stigma and discrimination. The community remains concerned about getting the service from government hospitals. There are services that stigmatize and discriminate against PrEP and PEP users.
3. Data protection of personal information. To get the service from a public hospital, there may be a requirement for an ID card and personal information, and people are also concerned about the government using their personal data.

With all the concerns and problems, therefore, we are urging Mr. Anutin Charnvirakul, Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, to closely examine and evaluate the issue. To end AIDS by 2030, the Thai government must support the continuation of PrEP and PEP services within community-based clinics. 

 

 

 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 15,096เป้าหมายต่อไป 25,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์