ทนายความหญิงมีสิทธิสวมใส่กางเกงไปศาล

ทนายความหญิงมีสิทธิสวมใส่กางเกงไปศาล

สร้างแล้ว
29 ตุลาคม ค.ศ. 2021
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
แคมเปญประสบความสำเร็จ
การรณรงค์สำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีผู้สนับสนุนจำนวน16,981คน

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย Nitihub และ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

กระโปรงเป็นของผู้หญิง กางเกงเป็นของผู้ชาย จริงหรือ?

ปัญหาที่ว่าทนายความหญิงสามารถสวมใส่กางเกงเพื่อไปว่าความที่ศาลได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เหตุเกิดจากกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนของสภาทนายความ ซึ่งระบุไว้ในข้อที่ 20 ของข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยเรื่องมรรยาททนายความที่ให้ทนายความหญิง “แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” อันเป็นการกำหนดให้ทนายความชายและหญิงต้องแต่งกายตามเพศสภาพ และเมื่อทนายความหญิงสวมใส่กางเกงก็จะถูกตักเตือนและถูกตำหนิติเตียน 

จริงอยู่ที่ข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ “ห้าม” ทนายความหญิงในการสวมใส่กางเกงในเวลาว่าความ แต่สภาทนายความก็ปฏิเสธและเพิกเฉยต่อการแก้ไขข้อบังคับนั้นให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยคำชี้แจงของสำนักงานประธานศาลฎีกาและข้อบังคับของเนติบัณฑิตยสภา กำหนดให้ “สมาชิกเนติบัณฑิตยสภาที่เป็นหญิงทุกคนต้องแต่งกายโดยสวมใส่กระโปรงเท่านั้น” ยิ่งตอกย้ำแนวปฏิบัติเดิม และทำให้ทนายความทุกคนที่ถูกกำหนดว่าต้องเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาต้องทำตามระเบียบและใส่กระโปรงขึ้นว่าความในศาลไปโดยปริยาย อันเป็นการตีความที่ขัดกับหลักความเสมอภาค และเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศอย่างชัดเจน

การกำหนดข้อบังคับดังกล่าวนอกจากจะก่อให้เกิดภาระที่ไม่จำเป็นและความหวาดระแวงว่าจะถูกตำหนิให้กับทนายความหญิงแล้ว ยังเป็นการสะท้อนเรื่องความเชื่อในเรื่องเพศสภาพ หรือการมองเพศแบบทวิลักษณ์ (Binary) โดยยังยึดติดกับค่านิยมเดิม ๆ ซึ่งเป็นหลักการที่ปลูกฝังความคิดแบบปิตาธิปไตย (patriarchy) เพื่อรักษาอำนาจเชิงโครงสร้างของคนในสังคมอีกด้วย ซึ่งเป็นการไม่สนับสนุนความคิดในเรื่องคุณค่าของมนุษย์และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว

Nitihub ร่วมกับ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จึงอยากผลักดันให้เกิดการ “เปลี่ยนแปลง” จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยการแก้ไขกฎเกณฑ์นั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยให้ทนายความสามารถแต่งตัวตามมาตรฐานสากลได้ เพราะว่าการสวมใส่กางเกงไม่ได้ลดประสิทธิภาพการทำงานของนักกฎหมาย ไม่ควรยึดโยง แค่ “กระโปรง” เข้ากับทนายความหญิง และควรส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศให้แก่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพราะสังคมของเราไม่ได้มีแค่ชายกับหญิงเพียงสองเพศเท่านั้น

อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่
แถลงการณ์ในนาม Nitihub ร่วมกับ สมามนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรื่องทนายความหญิงมีสิทธิใสส่กางเกงขึ้นว่าความในศาลยุติธรรม

แคมเปญประสบความสำเร็จ

การรณรงค์สำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีผู้สนับสนุนจำนวน16,981คน

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • เนติบัณฑิตยสภา
  • สภาทนายความ
  • ศาลฎีกา
  • ศาลยุติธรรม