เสนอให้วันที่ 6 ตุลาคม เป็นวันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาสากล ต่อ UN

เสนอให้วันที่ 6 ตุลาคม เป็นวันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาสากล ต่อ UN

สร้างแล้ว
5 ตุลาคม ค.ศ. 2021
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
United Nations (สหประชาชาติ)
ผู้สนับสนุน 28,192เป้าหมายต่อไป 35,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้วันที่ 6 ตุลาคม เป็น วันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาสากล เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่รัฐบาลกระทำอาชญากรรมโดยรัฐอย่างโหดเหี้ยมในพื้นที่มหาวิทยาลัย 

(English below) 

6 ตุลาคืออะไร

เมื่อ 45 ปีที่แล้ว ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นักเรียนนักศึกษาและประชาชนชาวไทยได้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อประท้วงการที่รัฐบาลยอมให้จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกเผด็จการที่ถูกประชาชนโค่นล้มไปในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาเป็นส่วนหนึ่งในคลื่นของขบวนการเคลื่อนไหวนักเรียนนักศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในหลากหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินโดนิเซีย

การชุมนุมได้จบลงที่การปราบปรามอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่มขบวนการประชาชนที่ถูกปลุกระดมให้เกลียดชังนักศึกษา มีผู้เสียชีวิตและสาบสูญจำนวนมาก ไม่รวมที่บาดเจ็บสาหัสทางกายและใจจวบจนปัจจุบัน

แม้เหตุการณ์รุนแรงนี้จะถูกบันทึกวิดีโอไว้ หรือมีการบันทึกภาพถึงขนาดได้รางวัลพูลิตเซอร์ รัฐไม่เคยออกมายอมรับหรือขอโทษในกรณีอาชญากรรมที่ก่อขึ้นในปี 2519 แต่อย่างใด อีกทั้ง ยังไม่มีการบันทึกหรืออภิปรายในแบบเรียนไทย กระนั้น อุดมคติของคนหนุ่มสาวและความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ถูกลืมโดยนักเรียนนักศึกษาและประชาชนรุ่นหลัง ซึ่งตอนนี้กำลังพูดถึง รำลึก และศึกษาวิจัยเหตุการณ์นี้อย่างกว้างขวาง

สถานการณ์สิทธิเสรีภาพของนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบัน

การใช้ความรุนแรงต่อนักเรียนนักศึกษายังคงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ จึงเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดต่อการปราบปรามนักเรียนนักศึกษาภายในสถาบันการศึกษา โดยที่บางครั้งรัฐก็เป็นผู้กระทำการ หรือจากตัวมหาวิทยาลัยเองที่เพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนักเรียนนักศึกษาในการแสดงออกไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ทางจิตใจ การลงโทษทางวินัย และเงื่อนไขอื่น ๆ

เฉพาะในประเทศไทยเอง การชุมนุมที่นำโดยนักเรียนนักศึกษาในช่วงปี 2563 เป็นต้นมาต้องเจอกับการปราบปรามและความรุนแรงจากตำรวจอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยมุ่งจะดำเนินคดีกับนักกิจกรรมจำนวนมาก หลายคนในนั้นเป็นนักเรียนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีที่เพียงออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออกเท่านั้น มหาวิทยาลัยภายในประเทศยังคงขัดขวางการใช้เสรีภาพในการแสดงออกในพื้นที่ของตน ดังเช่นในปี 2564 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลานั้นกลับไม่อนุญาตให้จัดการรำลึกเหตุการณ์ภายในมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายกรณีที่มหาวิทยาลัยไม่สนใจและสนับสนุนการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษา ผ่านการใช้กำลัง การแทรกแซง ไปจนถึงการลงโทษทางวินัย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในฮ่องกงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างอันน่าเศร้าสลด ที่ทำการของนักศึกษาถูกบุกค้น ไปจนถึงขั้นยุบสหภาพนักศึกษา หรือในเมียนมาร์ที่นักศึกษาจำนวนมากถูกจับและถูกแจ้งข้อที่ต้องจำคุกเป็นเวลายาวนานเพียงเพราะการชุมนุมอย่างสันติเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการอำนาจนิยม

วันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาสากล

เนื่องในโอกาส 45 ปี 6 ตุลาฯ เพื่อย้อนรำลึกผู้เสียชีวิต และบรรดาเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายในสถาบันการศึกษาทั่วโลก ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยควรจะตระหนักถึงความรุนแรงซึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำลายหลักการการแสวงหาความรู้อิสระในมหาวิทยาลัย และควรส่งเสริมการปกป้องสิทธิการแสดงออกอย่างแข็งขัน รวมถึงสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการสนทนา

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดการกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของหลักการที่สนับสนุนการค้นหาความรู้และการแสดงออกอย่างอิสระในสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ พวกเราจำเป็นต้องรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตอันแสนเจ็บปวด และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่คล้ายกันซ้ำขึ้นอีก

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอว่า วันที่ 6 ตุลาคมเป็นวันที่เหมาะสมที่สมควรจะถูกสถาปนาเป็น วันปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียนนักศึกษาทั่วโลก

เสนอโดย องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รายชื่อองค์กรผู้สนับสนุนแรกเริ่ม :

  • สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
  • สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะจุฬาฯ
  • Spring Movement
  • กลุ่มแสงโดม
  • พรรคโดมปฏิวัติ
  • กลุ่มนักเรียนเลว
  • พรรคจุฬาของทุกคน

ท่านสามารถร่วมแสดงออกผ่าน Social Media ของท่านโดยการชูป้ายที่มีข้อความสนับสนุนข้อเสนอ อาทิ #ProtectStudentsFreedomDay, #ProtectStudentsFreedom, #StopStudentsArrest, International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression หรือข้อความที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้นเองทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอื่น ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงข้อประเด็นและข้อเรียกร้องดังกล่าวในประเทศและในระดับนานาชาติ

The International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression

Why Do We Want October 6th to Be the International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression?

Why October 6th?

On October 6, 1976, forty-five years ago, students, joined by people from all over Thailand, rallied at Thammasat University to protest against the government for allowing Field Marshal Thanom Kittikachorn to return from exile. Kittikachorn was Thailand’s former dictator, whose regime was brought down by the people on October 14, 1973. The incident was a part of a larger wave of student uprisings against authoritarian regimes in multiple countries, such as South Korea, Taiwan, the Philippines, and Indonesia.

The protest on October 6 ended in a brutal crackdown inside the campus by the police as well as people who were incited and stirred with hatred toward the students. It ended with countless deaths and disappearances, not to mention serious injuries, both physical and emotional, on protesters, whose traumatic effects persist today.

Despite the fact that the massacre took place and was recorded on film, and despite a photographic reportage that ended up being awarded the Pulitzer Prize, there has been no gesture of apology on the part of the state for the crimes that were committed in 1976.

There have been active efforts to erase these memories for our collective imagination, especially in Thailand. For years, the events of 1976 were not mentioned in textbooks nor were addressed in public debates. Nevertheless, a generation later, the youthful spirit and idealism of 1976 have not perished and the violent suppression that took place back then has not been forgotten. The incident is now widely discussed, commemorated, studied, and researched.

The Protection of Students’ Freedom of Expression Today

Meanwhile, the state of the protection of students’ freedom of expression has not improved, however. The October 6th incident remains a glaring example of a brutal crackdown on students taking place inside an educational institution.

Violent repression of student movements continues to take place in many countries around the world, and at times, it is the state that is the perpetrator of such actions.

In Thailand, student-led protests that began in 2020 have been facing severe crackdowns and police brutality until the present. The Thai government has never stopped dropping criminal charges against hundreds of Thai activists. Many of them are students under 18 years old who just exercise their freedom of expression. Additionally, Thai universities also discourage freedom of expression on campus. For example, in 2021, Thammasat University, where the 6 October 1976 massacre took place, forbid the massacre commemoration inside its area.

Similarly, in many cases, universities ignore or motivate violations of students’ freedom of expression through the use of physical force, intimidation, and disciplinary action. In Hong Kong, for example, we have recently seen student offices being searched and ransacked, leading to the closure of student unions. In Myanmar, many students were also arrested or charged with long prison sentences because of their peaceful demonstrations against the authoritarian regime.

Our Proposal

The International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression, which we call to start to be observed on the occasion of the 45th anniversary of the October 6th incident, provides a venue for the remembrance of those who lost their lives and the various cases of brutality that have taken place in various academic institutions around the world ever since.

University administrators must be pressed to actively combat these blatant cases of violation of human rights and to become more aware of the ongoing disregard for the principle of the independent pursuit of knowledge in academic institutions.

In this sense, universities must actively promote the right to freedom of expression and create a safe space for dialogue and inquiry.

We must also actively prevent a further incident similar to the 6 October 1976 massacre. 

Therefore, we urge October 6th to be henceforth observed as the International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression.

Proposed by : the Student Government of Chulalongkorn University

You can support us by posting on your social media platform by holding a sign written with one of these hashtags or keywords: #ProtectStudentsFreedomDay, #ProtectStudentsFreedom, #StopStudentArrest, The International Day for the Protection of Students’ Freedom of Expression, etc. You can also create your own to help us raise awareness on this issue.  

List of initial international supporters:

1.Nathan Law, Hongkong activist (HongKong)
2.Johnson Yeung (Hong Kong)
3.Perry Link, Professor of University of California (USA)
4. Jhanisse Vaca Daza (Bolivia)
5. James Lee Proudfoot (Australia)
6.Lim Khiam, Taiwan Platform of Democratic Sustainability (Taiwan)
7. Marc Batac (Philippines)
8. Sao Khon Cho (Myanmar)
9. Eero Kivistö (Finland)
10. Xun-ling Au (UK)
11. Vanessa Law (Hong Kong)
12. Hideyuki Shimura (Japan)
13. Narayan Liu (Sweden)
14. Jessica Chiu (Norway)
15. Hong Kong Committee in Norway
16. Zoya Phan, activist(Burma)
17. Eraldo Souza dos Santos (Brazil)
18. Mu Sochua, (Cambodia)
19. Issa Sarikamis (Turkey)
20. Evgeniya Chirikova (Russia)
21. Victoria Arana (Nicaragua)
22. Befekadu Hailu (Ethiopia)
23. Hector Ulloa, SAIH - Studentenes og Akademikernes Internasjonale Hjelpefond (Norway)
24. Jandeil Roperos - President of National Union of Students of the Philippines
25. Yasmin Ullah (Canada)
26. Fred Burman (Congo)
27. Edipcia Dubon (Nicaragua)
28. Dr Ceri Oeppen (UK)
29. Milk Tea Alliance - Friends of Myanmar

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 28,192เป้าหมายต่อไป 35,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • United Nations (สหประชาชาติ)