เสนอให้สามารถใช้การยืนยันตัวตนในการฝากเงินผ่านตู้ฝากเงินอัตโนมัติ (CDM) ได้หลายช่องทาง

เสนอให้สามารถใช้การยืนยันตัวตนในการฝากเงินผ่านตู้ฝากเงินอัตโนมัติ (CDM) ได้หลายช่องทาง

สร้างแล้ว
21 ตุลาคม ค.ศ. 2022
กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์
ธนาคารแห่งประเทศไทย และ
แคมเปญประสบความสำเร็จ
การรณรงค์สำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีผู้สนับสนุนจำนวน71คน

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย PATHOMPORN INTARASOOT

จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ระบุว่า หลังจากวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 การใช้บริการตู้ฝากเงินสด (CDM) จะต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนฝากเงินทุกครั้ง ตามกฎเกณฑ์ของ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ CDM AMLO โดยใช้บัตรเอทีเอ็ม, บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนก่อนการฝากเงินผ่านตู้ฝากเงินสด เพื่อตรวจสอบและป้องกันการฟอกเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายอย่างเช่นการค้ายาเสพติดหรือการพนัน ซึ่งจากแนวทางดังกล่าวนั้นเป็นการสร้างภาระให้กับผู้บริโภค 

เนื่องในปัจจุบันนั้นประชาชนส่วนใหญ่นิยมถอนเงินสดผ่านตู้ถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) โดยไม่ใช้บัตรอยู่แล้ว เพราะสามารถยืนยันตัวตนและทำรายการถอนเงินผ่านแอพลิเคชั่นของธนาคารได้เลย ซึ่งมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยที่ในการทำรายการแต่ละครั้ง ก็จะมีการสื่อสารระหว่างแอพลิเคชั่นและตู้ ATM ในเวลานั้นอยู่แล้วเช่นกัน ซึ่งหมายความว่าในการทำรายการนั้นๆ ได้มีการระบุข้อมูลการใช้งานโดยสมบูรณ์แล้ว ว่าเป็นผู้ใช้บุคคลใด ใช้บริการที่ตู้ไหน เวลาใด จำนวนเงินเท่าไร ดังนั้น ในการฝากเงินก็สามารถใช้ข้อมูลรูปแบบเดียวกันในการระบุตัวตนได้เช่นเดียวกัน 

ซึ่งจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จึงสรุปได้ว่าในการยื่นยันตัวตนนั้น ควรที่จะสามารถยื่นยันตัวตนได้หลากหลายวิธี เช่นเดียวกับการถอนเงิน ที่สามารถสแกน QR Code หรือกดรหัสอ้างอิงจากแอพพลิเคชั่นของธนาคารได้ก่อนการทำรายการ ทำให้ไม่ต้องมีการใช้บัตร และมีข้อมูลการทำรายการที่ครบถ้วน ดังนั้น มาตรการที่บังคับให้ใช้บัตรเอทีเอ็ม, บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตเพื่อยืนยันตัวตนในการทำรายการเพียงอย่างเดียวนั้น ถือเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมและไม่ยืดหยุ่นต่อผู้ใช้ และเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการออกบัตรโดยไม่จำเป็น

สรุป ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาให้มีช่องทางหลักในการยืนยันตัวตนในการฝากเงินผ่านตู้ฝากเงินสด (CDM) ทั้งหมด 3 ช่องทาง ดังนี้

  1. บัตร ATM/บัตรเดบิต/บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด
  2. การยืนยันผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคาร
  3. บัตรประจำตัวประชาชน หากตู้ ATM/CDM นั้นๆ มีช่องให้เสียบบัตรประชาชน

โดยขั้นตอนกระบวนการยืนยันตัวตนทั้งหมด จะเหมือนกันกับการถอนเงินผ่านตู้ ATM ทุกประการ

ส่วนในวิธีอื่นๆ ที่อาจมีความซับซ้อนหรือใช้เวลามากกว่า เช่น การยืนยันผ่านรหัสทาง SMS ที่จะส่งมาในแต่ละครั้งที่ใช้บริการตู้ (OTP) นั้น ขอให้เป็นวิธีที่รองลงมา ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนด้วย 3 ช่องทางหลักขั้นต้นได้ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถใช้บริิการตู้ฝากเงินสดได้เป็นวิิธีสำรอง

สุดท้ายนี้ ทางผู้รณรงค์และผู้ร่วมสนันสนุนทุกคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการทบทวนและปรับแก้แนวทางให้เป็นไปตามที่ได้นำเสนอดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนได้มีความสะดวกในการฝากเงินผ่านตู้ CDM ได้มากขึ้น ตั้งแต่เริ่มบังคับใช้ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป 

 

แคมเปญประสบความสำเร็จ

การรณรงค์สำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีผู้สนับสนุนจำนวน71คน

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้

แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์

ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
  • ธนาคารกสิิกรไทย
  • ธนาคารกกรุงไทย ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนลูกค้า
  • ธนาคารกรุงเทพ