เรียกร้องรัฐบาลและภาคเอกชน งดซื้อลิขสิทธิ์กีฬา Seagame 2023 ในราคาแพงว่าทุกชาติอาเซี่ยน

เรียกร้องรัฐบาลและภาคเอกชน งดซื้อลิขสิทธิ์กีฬา Seagame 2023 ในราคาแพงว่าทุกชาติอาเซี่ยน

สร้างแล้ว
9 มีนาคม ค.ศ. 2023
ผู้สนับสนุน 10,577เป้าหมายต่อไป 15,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย Nattpol Phorueng

จากกระแสการขอเปลี่ยนแปลงชื่อกีฬา "มวยไทย" สู่ "กุนขแมร์" หลายๆท่านในไทยคงทราบดีว่ากระบวนการและการกระทำดังเกล่า เป็นการ "แทนชื่อ" กีฬาหรือการ เปลี่ยนชื่อใหม่ของกีฬา "มวยไทย" เป็นเวลาเกือบศรรตวรรษ ที่หลายภาคส่วนได้พยายามนำกีฬาชนิดนี้เผยแผ่ให้ชาวโลกได้รับรู้และเรียนรู้ กับศิลปะต่อสู้และการป้องกันตัวแขนงหนึ่งของโลก จากประเทศเล็กๆแห่งอุษาคเนย์ ในนาม "มวยไทย"มวยไทยโบราญ 5 สาย ที่มีชื่อเสียงในอดีตก่อนเปลี่ยนเป็น มวยไทยสากล ในปัจจุบัน

มวยไทยโบราญที่มีชื่อเสียง 5 สาย ก่อนถูกเปลี่ยนเป็น มวยไทยสากล ในปัจจุบัน

กีฬา "มวยไทย" "กุนขแมร์" จุดเริ่มต้นของชนวนความจัดแย้ง ระหว่างไทยและกัมพูชา ประเทศเจ้าภาพ ในการจัดกีฬา ครั้งที่ 32 ที่จะจัดขึ้นที่ ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงพนมเปญ  ซึ่งนอกจากจะไม่แก้ใขตามธรรมนูญกีฬาให้ถูกต้องแล้ว ซ้ำยังมีการอ้างสิทธิ์ถึงการเป็นเจ้าภาพที่สามารถจัดการอย่างไรก็ได้ตามเจ้าภาพเห็นสมควร
นอกจากนี้ยังมีการพยายามชี้นำข้อมูลเชิงเท็จเชิงโดยกล่าวอ้างว่า ประเทศไทยอ้างสิทธิ์กีฬาป้องกันตัวของอุษคเนย์ว่า "ไทยคือต้นฉบับ"

ซึ่งแท้จริงแล้วไทยในฐานะ ประธานสมาพันะ์กีฬามวยไทยสากลสมัครเล่น (IFMA)ไม่เคยกล่าวอ้างสิทธิ์ดังกล่าว และ ไม่เคยห้าม "กุนขแมร์" เผยแผ่กีฬาของประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด แต่กีฬาแห่งชาติของกัมพูชา จะมาเปลี่ยนแปลงชื่อ ที่ใช้มานานหลายทศวรรษ ไม่ได้ และไม่ว่าด้วยเหตุผลจากความเข้าใจผิด หรือ ความคิดที่ว่า "มวยไทย" ต้องลดทอนความน่าเชื่อถือ หรือ พยายามให้ "กุนขแมร์" กลายเป็น "มวยไทย" ซึ่งมีการสื่อออกไปว่า "ไทย" ได้อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของกีฬาหมัดมวยทั้งหมดของ อุษาคเนย์ โดยมี "ไทย" เป็นแหล่งกำเนิดของกีฬาหมัดมวย จากทางสื่อของประเทศกัมพูชา จนเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างประเทศ  ในกรณี "แหล่งต้นกำเนิด" ของกีฬาประเภทนี้ ในกรณี ตัวอย่างประธานสมาพันธ์มวยลาว

เมื่อเรื่องราวเริ่มบานปลาย จนทำให้บุคคลระดับผู้นำประเทศต้องออกมาทำให้ทุกอย่างคลี่คลาย และ สถาณการณ์เบาบางลง 

ซึ่งหมายความว่า กัมพูชา ยังคงยืนยันหนักแน่นที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ "มวยไทย" ไปเป็น "กุนขแมร์"  ไม่ว่าด้วยจากการเข้าใจ ประเด็นของปัญหา ที่ผิดผลาด หรือ จงใจ สร้างทางลัด เพื่อส่งเสริมกีฬาของชาติตนเอง ให้มีชื่อเสียงในระดับนานๆชาติ

โดยไม่คำนึงถึง บุคคล สถาบัน องค์กรต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนากีฬา กฏ-กฏิกา และสิ่งต่างๆ อีกมากมายจนมาเป็นกีฬา "มวยไทย" ในปัจจุบัน ซึ่ง กัมพูชา ไม่สมควรได้รับ สิทธิ์นั้น
-----------------------------------------

เรื่องนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับกีฬาชนิดและกีฬาประเภทอื่นๆ ที่ถูกจัดแข่ง และ ปัญหาของ "มวยไทย" ไม่สมควร เป็นประเด็นที่จะสร้างแคมเปนจ์ในการ รณรงค์ให้ภาครัฐ "งด" ซื้อลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดสดกีฬา ซีเกมส์ เพราะยังคงมีกีฬาอีกหลายประเภท ที่มีการแข่งขัน ในมหกรรมกีฬาแห่งภูมิภาคนี้ 

แต่ กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคม 2566 มีข้อสรุป กีฬาที่มีแข่งขันทั้งสิ้น จำนวน 37 ชนิดกีฬา มีชิงชัยถึง 608 เหรียญทอง เป็นจำนวนเหรียญทองสูงสุดตั้งแต่มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์

สำหรับชนิดกีฬาและจำนวนเหรียญทองในแต่ละชนิดกีฬา ประกอบด้วย : กรีฑา 47 เหรียญทอง กีฬาทางน้ำ ประกอบด้วย ว่ายน้ำ 39 เหรียญทอง, กระโดน้ำ 4 เหรียญทอง,โปโลน้ำ 2 เหรียญทอง, ฟินสวิมมิ่ง 24 เหรียญทอง, แบดมินตัน 8 เหรียญทอง, บาสเกตบอล 4 เหรียญทอง ,บิลเลียดสนุกเกอร์ 10 เหรียญทอง, มวยสากล 17 เหรียญทอง, เพาะกาย 15 เหรียญทอง, หมากรุก 12 เหรียญทอง,

คริกเก็ต 8 เหรียญทอง, จักรยาน 9 เหรียญทอง, แด็นซ์สปอร์ต 12 เหรียญทอง, อีสปอร์ต 9 เหรียญทอง, ฟันดาบ 12 เหรียญทอง, ฟลอร์บอล 2 เหรียญทอง,ฟุตบอล 2 เหรียญทอง, กอล์ฟ 4 เหรียญทอง, ยิมนาสติก อาร์ตทิสติก 8 เหรียญทอง, ยิมนาสติกแอโรบิค 5 เหรียญทอง, ฮอกกี้ 4 เหรียญทอง, เจ็ตสกี 6 เหรียญทอง, ยูโด 13 เหรียญทอง, คาราเต้ 17 เหรียญทอง, อาร์นิส 12 เหรียญทอง, ยูยิตสู 13 เหรียญทอง, คิ๊กบ๊อกซิ่ง 17 เหรียญทอง คุนโบกาตอร์??? 21 เหรียญทอง
มวย 17 เหรียญทอง, โววีนั่ม 30 เหรียญทอง,ออบสตัสเคิล เรช 4 เหรียญทอง,ปันจักสีลัต 22 เหรียญทอง,เปตอง 11 เหรียญทอง, เรือใบ 9 เหรียญทอง, ซอฟท์เทนนิส 7 เหรียญทอง, เซปัคตะกร้อ 22 เหรียญทอง, เทเบิลเทนนิส 7 เหรียญทอง, เทควันโด(เกาหลีเหนือ) 24 เหรียญทอง, เรือยาว 13 เหรียญทอง, เทนนิส 7 เหรียญทอง,ไตรกีฬา 7 เหรียญทอง,วอลเลย์บอล 4 เหรียญทอง, ยกน้ำหนัก 14 เหรียญทอง,มวยปล้ำ 30 เหรียญทอง,วูซู 24 เหรียญทอง
-------------------------
ซึ่งยังไม่พิจรณาจากข้อกำหนดต่างๆ ที่ทำให้นักกีฬาไทย ไม่สามารถร่วมแข่งขัน ตามกำหนด Tire ของกีฬาต่างๆ และ กีฬาที่ไม่รู้จักจำนวนมาก รวมทั้ง เทคโนโลยีการถ่ายทอดสด ซึ่งขางประเทศกัมพูชา ยังไม่เคยจัดการ หรือ ดำเนินงานกีฬาระดับนานาชาติ ซึ่งทาง กัมพูชามีข้อจำกัดในการถ่ายทอดสดแค่ 16 ชนิดกีฬาเท่านั้น

การแข่งขันครั้งนี้ มีกระแส การเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในการแข่งขันมหกรรมกีฬานี้มาก่อน

ทางการกัมพูชา โดย นายวัธ จำเริญ เลขาธิการ CAMSOC เปิดเผยว่า กัมพูชาไม่เคยเรียกร้องราคาสำหรับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งที่มีการรายงานไปก่อนหน้านี้นั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการเจรจาระหว่างหน่วยงานของ CAMSOC กับทางการไทยยังดำเนินอยู่  

เราไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจาค่าธรรมเนียม เนื่องจากเราปล่อยให้เป็นเรื่องของหน่วยงานของเรา ค่าธรรมเนียมขั้นสุดท้ายจะเป็นไปตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน และกัมพูชาจะยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้ เราไม่ได้บังคับให้ใครต้องจ่ายค่าสิทธิ์

ค่าธรรมเนียมนะ ไม่ใช่ค่าลิขลิทธิ์  ปัดโถ่ว์.......  แล้วมันเท่าไหร่ล่ะ ค่าธรรมเนียมที่ว่า 

เรื่องนี้ทางคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยรับทราบแล้ว และ ได้ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการต่อรอง (คาดว่าจะทราบผล ต้นเดือนมีนาคม) โดยจะไม่ยอมจ่ายเต็มราคา และจะต่อรองให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด


ถึงเวลาที่ที่เราควรแจ้งไปยัง กกท และรัฐบาลหรือยังว่า เราไม่ต้องการการถ่ายทอดสดครั้งนี้ ???

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 10,577เป้าหมายต่อไป 15,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์