คัดค้านคำถามประชามติรัฐธรรมนูญล็อกสเปก

คัดค้านคำถามประชามติรัฐธรรมนูญล็อกสเปก

สร้างแล้ว
14 มกราคม ค.ศ. 2024
ผู้สนับสนุน 662เป้าหมายต่อไป 1,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

สร้างโดย Thammasat Demonstration

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2566 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ ได้แถลงผลสรุปการทำงาน โดยมีสาระสำคัญว่าจะจัดทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่สามครั้ง และการทำประชามติครั้งแรกจะใช้คำถามว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ให้มีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่แก้ไข หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์”  

คำถามประชามติดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่ากังวลต่อประชาชนผู้ถืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นคําถามที่ตีความได้หลายแบบ การตั้งคำถามในลักษณะนี้เป็นการถาม 2 คำถามแต่ต้องการคำตอบเพียงคำตอบเดียว ทำให้กลุ่มประชาชนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวดหมู่ ทุกมาตรา และประชาชนที่ไม่ต้องการให้แก้ในประเด็นใด ๆ เลยจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันคืออาจจะไปโหวต NO ให้กับคำถามประชามตินี้ ซึ่งอาจทำให้เสียงของประชาชนถูกบิดเบือนความต้องการที่แท้จริง 

และเป็นครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ไทยที่คำถามประชามติกลับจำกัดพื้นที่ในการถกเถียงอย่างสันติเรื่องหมวด 1-2 ซึ่งเป็นการหันหลังให้ขอเรียกร้องของกลุ่มภาคประชาชน        มากกว่านี้ อำนาจสถาปนาของประชาชนมีความสมบูรณ์เด็ดขาด ต้องไม่ถูกจำกัดจากสิ่งใดๆ ดังนั้นการจำกัดการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 ในคำถามประชามติจึงเรียกได้ว่าเป็นการไม่เคารพอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญของประชาชน ซึ่งรวมถึงอำนาจในการร่างกฎหมายสูงสุดของประเทศทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา 

จากเหตุผลที่ได้กล่าวไป ประชาชนทุกคนเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หากคำถามประชามตินี้ได้รับความเห็นชอบจากครม. จะส่งผลกระทบต่อทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ เพราะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ในเวลาปัจจุบันไม่สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง และอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้นในอนาคต          ดังนั้น เนื่องจากคำถามประชามติจะถูกเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในเวลาอีกไม่นาน แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จึงเห็นสมควรในการรวบรวมรายชื่อประชาชนที่ต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เพื่อยืนยันต่อรัฐบาลที่นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน ว่ากระบวนการประชามติต้องยึดมั่นในหลักการว่าประชาชนคือผู้ถืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขได้ทุกหมวด ทุกมาตรา และเพื่อการจัดทำรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การบังคับใช้อย่างยั่งยืนจะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

1. กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องเชื่อมโยงกับประชาชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยที่ประชาชนต้องไม่เป็นเพียง ‘สัญลักษณ์’ รัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นต้องไม่ใช่ผลงานของ ‘ผู้รู้’ หรือ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ คนใดคนหนึ่ง                                                                  

2. รัฐธรรมนูญที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องสอดรับกับความแตกต่างหลากหลายและอาจถึงขั้นมีความขัดแย้ง รัฐธรรมนูญจึงเป็นกติการ่วมกันเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ 

3. “กระบวนการ” การจัดทำรัฐธรรมนูญถูกยอมรับไปพร้อม ๆ กับความชอบธรรมของเนื้อหา การใช้คำถามประชามติแบบนี้เป็นการทำให้กระบวนการจัดทำมี ‘บรรยากาศ’ ที่ปิดโอกาสประชาชน และยกองค์กรพระมหากษัตริย์และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่เหนือบรรยากาศการถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทั้ง ๆ ประชาชนมีข้อสงสัยว่าองค์กรหรือภายใต้การใช้ชื่อว่า “พระมหากษัตริย์” นั้นแท้จริงแล้วมีความรับผิดชอบอย่างไรกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในห้วงสถานการณ์ที่ผ่านมาหรือไม่ มิหนำซ้ำคำถามประชามตินี้ไม่ทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยลดน้อยถอยลงและจะเป็นการนำสถาบันกษัตริย์มาเป็น “เครื่องมือ” ในการต่อรอง เป็น “คู่ขัดแย้ง” โดยตรงของประชาชนทำให้รัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่นี้เต็มไปด้วยเงื่อนไขและต้องนำ “ผู้รู้” “ผู้ฉลาด” จำนวนหนึ่งเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วรัฐธรรมนูญนี้จะไม่มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 662เป้าหมายต่อไป 1,000
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์