ไม่เอาเงินดิจิตอล 10,000บาท ไล่นายกฯ

ไม่เอาเงินดิจิตอล 10,000บาท ไล่นายกฯ

สร้างแล้ว
7 ตุลาคม ค.ศ. 2023
ผู้สนับสนุน 30เป้าหมายต่อไป 50
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้

ทำไมแคมเปญรณรงค์นี้ถึงมีความสำคัญ

 

จับตานายกฯ ประชุมบอร์ด เดินหน้า แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท 1 ก.พ. 67 ขณะ 2 อดีตรัฐมนตรีคลัง-นักวิชาการ-นักเศรษฐศาสตร์ แถลงการณ์เข้ม ค้านแจกเงิน ในยามเศรษฐกิจสุ่มเสี่ยง ยก 6 เหตุผล ที่รัฐบาลควรทบทวนนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต หลังหวั่น “หนี้สาธารณะ” จะเป็นระเบิดเวลา
คำว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย” เริ่มดังขึ้นมากเรื่อยๆ กับความกังวลเกี่ยวกับนโยบาย แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” หลังจาก ขณะนี้ หากประเมินจากข้อเท็จจริง จะพบว่า เศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจไทย อยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง ทิศทางไม่แน่นอน 
ฉะนั้น การกันสำรองในอนาคต ควรเกิดขึ้น มากกว่า การก่อหนี้ใหม่ ด้วยเม็ดเงินกว่า 5.6 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็ยังมีข้อเสนอตรงๆ ออกมาจากภาคเอกชน ว่า ไม่เห็นด้วยในการแจกเงินคนไทย 56 ล้านคน โดยขอให้คัดกรองผู้มีสิทธิ์ ได้รับเงิน 10,000 บาท เพื่อให้เงินที่ทุ่มลงไป เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคร่าวๆ อาจมีแค่ราว 40 ล้านคน ที่ควรได้รับ 
 
 นโยบายแจกเงินของรัฐบาล ล่าสุดว่า ดูแววแล้ว ประเทศไทยอาจได้ไม่คุ้มเสีย รัฐบาลควรคิดให้ดีอีกที 
เพราะ ขณะที่ เงินบาทอ่อนค่า ทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว และยังมีแนวโน้มสูง ที่จะ “อ่อนค่า” ไปมากกว่านี้
ซึ่งในสภาวะที่ความมั่นใจนักลงทุนและนักธุรกิจสั่นคลอน แต่กระทรวงการคลัง ออกมายืนยันว่า นโยบายแจกเงิน 10,000 บาท จะถูกเดินหน้า และเชื่อว่า จะไม่ทำให้เกิด “เงินเฟ้อ” แน่นอน
 
ส่วนตัว ประเมินว่า แม้ เงินเฟ้อ ไม่น่ากังวล แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากกว่า และเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องคิด ก็คือ “ภาวะหนี้” ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จนอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลต่อภาระดอกเบี้ยของรัฐ ในช่วงที่ดอกเบี้ยก็สูงขึ้นมาก แถมยังผลต่อวินัยทางการคลังจากการนำเงินกู้มาแจก และผลต่อการ ‘แย่งสภาพคล่อง’ จากระบบเศรษฐกิจด้วย 
แจกเงิน ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ 
ขณะ อดีตขุนคลังอีกคน “ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” เตือนเสียงดังถึงรัฐบาล ว่า ขณะนี้ พายุวิกฤติเศรษฐกิจโลก กำลังจะมา! การกู้เงิน 5.6 แสนล้าน มาแจกคนละ 1 หมื่นบาท เป็นความเสี่ยงขั้นสุด เทียบเคียงกับ สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังเผชิญ 
 
ตั้งคำถาม รายได้ไทย ที่มีแนวโน้มจะน้อยกว่ารายจ่ายไปอีกหลายปี พร้อมๆ กับสภาวะตลาดเงินกำลังจะตึงตัว ดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังสูงขึ้น กำลังซื้อทั่วโลกกำลังจะลดลง นายกฯ จะบริหาร Corporate Thailand อย่างไร? พร้อมไม่เห็นด้วย ที่จะกู้หนี้สาธารณะมาเพื่อกระตุ้นอุปโภคบริโภค
จี้นายกฯ เศรษฐา คิดเทียบเคียง หากประเทศ เป็นบริษัท อาจจะเห็นภาพชัดขึ้น ว่ากรณีบริษัทๆ นั้น มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย แต่ใจดี ไปกู้เงินรูดการ์ด เพื่อเอามาแจกพนักงาน คาดว่า ไม่นานก็จะเจ๊ง
“ถามว่า ถ้าแจกเงิน 560,000 ล้านบาท เป็นเงินดิจิทัล จะช่วยให้มีเงินมาชำระหนี้มากขึ้นหรือไม่? ขอตอบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่จำเป็นต้องแจกเงินดิจิทัล การเอาสองเรื่องมาปะปนกัน ทำให้ประชาชนฟังแล้วเคลิ้ม แต่ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ " 
 
6 เหตุผล ที่รัฐบาล ไม่ควร “แจกเงิน 1 หมื่นบาท” 
ท่ามกลาง KKP Research ยังทำรายงาน ออกประเมินว่ามาตรการกระกระตุ้น GDP ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต อาจทำให้ GDP เพิ่มขึ้นเพียง 1% บนต้นทุน ด้านงบประมาณที่ต้องใช้เงินสูง ถึง 3.6% ของ GDP หรือ คิดเป็น 18% ของวงเงินงบประมาณเดิม อาจทำให้ การขาดดุลการคลังต่อปีเพิ่มขึ้น ด้วยดอกเบี้ย และอาจทำให้หนี้สาธารณะไทยเร่งตัว มาแตะกรอบบนที่ 70% ได้ไม่เกิน 10 ปีนับหลังจากนี้ 
ล่าสุด ยังมีแถลงการณ์ ไม่ทราบที่มาชัดเจน แต่จั่วหัวว่า เป็นแถลงการณ์ร่วม ของอาจารย์เศรษฐศาสตร์ โดยมีรายชื่อแนบติดมาด้วย (แต่ไม่ปรากฏนาม) โดยรายละเอียดของเนื้อหานั้น มีใจความ ขอให้รัฐบาลทบทวน “นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาท” ด้วยความรอบคอบอีก สักครั้ง เพราะ เป็นนโยบายที่อาจ “ได้ไม่คุ้มเสีย” จาก เหตุผล 6 ข้อ ดังนี้ 
เศรษฐกิจไทยกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวตามศักยภาพ จากวิกฤติโรคระบาดและเงินเฟ้อรุนแรงแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก เพื่อกระตุ้น การบริโภค เพราะอาจจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อให้สูงขึ้นมาอีก ท่ามกลางราคาพลังงานที่สูง เพราะอาจนำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด
เงินงบประมาณของรัฐมีค่าเสียโอกาส โดยเงิน 560,000 ล้านบาท คือ เงินงบประมาณ ที่รัฐจะใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน, พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , สร้าง Digital Infrastructure เพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว มากกว่านำมาใช้กระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ เพราะเท่ากับเป็นการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้แก่คนรุ่นต่อไป
การกระตุ้นเศรษฐกิจให้ GDP ขยายตัวโดยรัฐแจกเงิน ถูกคาดหวังเกินจริง โดยงานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าตัวทวีคูณทางการคลังของการใช้จ่ายประเภทเงินโอนมีค่าน้อยกว่า 1 ด้วยซ้ำ ฉะนั้น การที่รัฐบอกว่านโยบายนี้จะทำให้เงินหมุนหลายรอบ จะเป็นการเปลี่ยนมือจากคนหนึ่ง ไปอีกคนหนึ่งนั้น หมายถึงอัตราหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Money) แต่ผลกระทบของการใช้จ่ายภาครัฐที่จะมีต่อ GDP ต้องดูจากตัวทวีคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ที่ปัจจุบันมีค่าต่ำมาก
เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้นเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของ GDP จะต้องมีภาระ จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นเมื่อมีการ Rollover ซึ่งจะมีผลต่อเงินงบประมาณในแต่ละปีนี่ยังไม่นับค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาจากการแจกเงิน Digital 10,000 บาทนี้
ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอย รัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และรายจ่ายทางด้านสาธารณสุข แต่หลังจากวิกฤตโรดระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (Fiscal Vonsolidation) เพื่อสร้าง 'ที่ว่างทางการคลัง' (Fscal Space) ไว้รองรับวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลงและภาระการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ควรใช้ งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด
“ด้วยเหตุผลต่างๆ ข้างต้น จึงขอให้รัฐบาลทบทวน 'นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาทแก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะผลประโยชน์ที่ได้จะน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว”
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า วันนี้ นายกรัฐมนตรี มีการเรียกประชุม คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet นัดแรก เพื่อถกรายละเอียด และเดินหน้านโยบายตามเป้าหมาย ว่าจะแจกเงินดิจิทัลคนไทย ให้ทัน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567
 

เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
ผู้สนับสนุน 30เป้าหมายต่อไป 50
เข้าร่วมสนับสนุนเดี๋ยวนี้
แชร์แคมเปญรณรงค์นี้ด้วยตัวคุณเองหรือใช้รหัสคิวอาร์นี้ในสื่อของคุณดาวน์โหลดรหัสคิวอาร์